 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
13
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,353
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,789,851
|
|
|
|
|
26 เมษายน 2561
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้อมูลและสื่ออบรมการเป็นวิทยากร
|
|
วิทยากร5
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.]จำนวนผู้เข้าชม 4610 คน |
|
บทที่ 5
วิทยากรกับกิจกรรม
การพัฒนาศักยภาพบุคคล
แต่เดิมมาวิทยากรมีบทบาทและหน้าที่เป็นเสมือนตัวกลางที่คอยเชื่อมโยงและประสานความคิด ความเข้าใจระหว่างเนื้อหาสาระที่ต้องการจะบรรยายกับผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความสอดคล้องต้องกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว รวมทั้งคอยชี้แนะและแก้ปัยหาต่าง ๆ ให้แก้ผู้รับการฝึกอบรมอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงคืของการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการบรรยายหรือการฝึกอบรมในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะถือเอาเนื้อหาความรู้ของเรื่องที่จะบรรยายหรือฝึกอบรมเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องเชิญวิทยากรที่มีความรู้ในเนื้อหาของเรื่องดังกล่าวมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ดังนั้นการฝึกอบรมในสมัยที่ผ่านมาวิทยาการจึงมีฐานะเป็นศูนย์กลางของการฝึกอบรมอย่างแท้จริง แต่ในปัจจุบันนี้เนื้อหาสาระอาจเกิดขึ้นได้หลายทางอาจจะไม่จำเป็นจะต้องได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากวิทยากรก็ได้ วิทยากรจึงต้องปรับวิธีในการถ่ายทอดความรู้จากที่ตนเป็นศูนย์กลางมาเป็นการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลางโดยให้ได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติจริงและมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมผ่านกิจกรรมฝึกอบรมต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม การมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมโดยลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสนุกสนาน มีความสุขกับการเรียนรู้และผูกพันกับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี แต่ในการเตรียมเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับการฝึกอบรมจะเป็นภารกิจของวิทยากร ดังนั้นวิทยากรจึงต้องเอาใจใส่ในกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพบุคคลด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ เป็นกิจกรรมประเภทหนึ่งที่วิทยากรควรจะนำไปใช้ในการฝึกอบรม เพราะเป็นกิจกรรมที่จะช่วยผ่อนคลายความเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสามารถจะปลุกฝังและสร้างเสริมจิตใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ยอมรับใน กฏ กติกา มารยาท ของส่วนรวม เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินตลอดจนได้ข้อคิดต่าง ๆ อีกด้วย
ประโยชน์ของกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคล ได้แก่
1. เป็นกิจกรรมที่สร้างความเร้าใจเพื่อนำเข้าสู่การฝึกอบรมหรือเป็นลักษณะจองการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าเนื้อหาของการฝึกอบรม
2. ทำให้เกิดควงามสนุกสนาน ตื่นเต้น เพลิดเพลิน และเป็รการผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวเบื้อต้นให้เป็นไปอย่างถุกต้องและมีประสิทธิภาพ
4. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นและสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป้นอย่างดี
5. ส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย ก่อให้เกิดความแข็งแรง สมบูรณ์
6. ข่วยสร้างเสริมบรรยากาศที่ดีในการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา
7. ก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดีและสร้างความประทับใจในหมู่คณะ
8. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
9. ฝึกการเคารพต่อ กฎ กติกา
10. ทำให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องของกระบวนการกลุ่ม
11. เสริมสร้างลักษณะนิสัยของบุคคลให้เกิดความกระตือรือร้น
12. ให้ข้อคิดหรือแนวคิดต่าง ๆ ที่สามารถโยงไปสู่เรื่องอื่น ๆ
เทคนิคการเป็นผู้นำกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคล
ผู้นำกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคล เป็นบุคคลที่โน้มน้าวหรือชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสนุกสนานในการร่วมกิจกรรม ดังนั้นผู้นำกิจกรรมจะต้องเป็นผู้มีบุคลิกเฉพาะตนและมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกและรู้จักเทคนิคในการเป็นผู้นำกิจกรรม จึงจะทำให้การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคลในแต่ละครั้งประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งเทคนิคที่ผู้นำกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคลควรปฏิบัติมีดังนี้
1. จะต้องเรียนรู้และมีความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคคลในลักษณะกิจกรรมที่หลากหลาย
2. การคัดเลือกกิจกรรมต้องคำนึงถึงความเหมาะสมตามอายุความสามารถและขนาดของร่างกายของผู้ร่วมกิจกรรม
3. มีการวางแผนและดำเนินการตามแผนที่วางไว้
4. จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อม
5. สร้างบรรยากาศให้มีความสนุกสนานไม่เคร่งเครียดหรือเอาจริงเอาจังจนเกินไป
6. ผู้นำกิจกรรมควรอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถมองเห็นและได้ยินเสียงชัดเจน
7. ควรจัดให้ผู้ร่วมกิจกรรมอยู่ในกลุ่มหรือรูปแถวที่ต้องการก่อนอธิบายหรือสาธิตการเล่นกิจกรรม
8. ในกรณีที่จัดกิจกรรมโดยแบ่งเป็ฌนกลุ่มควรมีสัญลักษณ์ที่สังเกตได้ง่ายเช่นมีแถบสีหรือเสื้อทีม
9. ในกรณีที่กิจกรรมนั้นสามารถสาธิตได้ก็ไม่ควรอธิบายและไม่ควรใช้เวลาในการสาธิตนานเกินไป ควรให้ผู้ร่วมกิจกรรมเข้าร่วมกิจกรรมโดยเร็วที่สุด
10. หากเกิดความผิดพลาดควรรีบแก้ไข หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทันทีและเริ่มกิจกรรมต่อไปโดยเร็วหรือหากิจกรรมนั้นไม่เป็นที่ถูกใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมผู้นำกิจกรรมอาจจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยนำกิจกรรมอื่นมาจัดอแทนทันที
11. ผู้นำกิจกรรมควรใช้ความเป็นมิตรสนิทสนมและความเข้าใจมากกว่าการใช้กฎ กติกา ไม่ควรใช้วิธีการดุด่า ตำหนิ หรือวิธีการที่รุนแรง แต่ควรใช้วิธีการจูงใจและชดเชยแทน
12. ควรให้อิสระแก่ผู้เล่นไม่ควรอยู่ในกรอบวินัยจนเกินไป
13. ผู้นำกิจกรรมจะต้องแสดงออกถึงความกระตือรือร้นมีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าทำ กล้าแสดง เอาใจใส่แก่ผู้ร่วมกิจกรรมให้สมาชิกร่วมกิจกรรมอย่างถูกต้องและทั่วถึง
14. เลือกกิจกรรมที่สนุก ๆ และควรยุติกิจกรรมทันทีเมื่อทุกคนสนุกสนานจนถึงขีดสุดแล้ว หรือควรหยุดก่อนที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะเบื่อต่อกิจกรรมนั้น ๆ
15. ผู้นำกิจกรรมต้องตั้งใจสนใจและตอบคำถามผู้ร่สมกิจกรรมตลอดเวลาตลอดจนการคำนึงถึงความปลอดภัย
16. ควรเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมกิจกรรมเป็นผู้นำกิจกรรมบ้างและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
17. มีการสรุปข้อคิดหรือประโยชน์ที่ได้รับจากิจกรรม
18. มีการประเมินผลและพัฒนาการจัดกิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น
|
|
ข้อมูลและสื่ออบรมการเป็นวิทยากร
|
- วิทยากร7
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
- วิทยากร6
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
- วิทยากร5
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
- วิทยากร4
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
- วิทยากร3
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
- วิทยากร2
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
- วิทยากร1
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
- วิทยากร0
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
- การพูด
[27 กุมภาพันธ์ 2553 13:51 น.] |
ดูทั้งหมด
|
|
|